หมวดหมู่สินค้า: ฟูกที่นอนแบบต่างๆ
รหัส : A-019
จัดโปรโมชั่นร่วมกับเตียงผู้ป่วย
สอบถามโปรโมชั่น Line ID : @cumedicalhome
ราคา 8,000.00 บาท
30 มิถุนายน 2566
ผู้ชม 9652 ผู้ชม
ที่นอนป้องกันแผลกดทับ
"นอนสบายกว่า ออกแบบให้ช่วยกระจายแรงกดทับและป้องกันการเกิดแผลกดทับ"
ข้อบ่งใช้ของที่นอนป้องกันแผลกดทับ
- เป็นที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อช่วยกระจายแรงกดทับ แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลกดทับ และอยากที่จะป้องกันตัวเองไว้ก่อน แต่ยังไม่อยากที่จะนอนที่นอนลมเพราะเกรงว่าจะยังไม่คุ้นชินกับการนอนที่นอนลม กลัวว่าจะทำให้นอนไม่หลับ และต้องการฟูกที่นอนที่เนื้อแน่นให้สัมผัสที่สบายเพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพ นอนหลับสนิท
- แนะนำให้ใช้ในผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มจะนอนติดเตียง มีการเคลื่อนไหวน้อยลง หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง
คุณสมบัติและลักษณะทั่วไป
- ขนาด (กว้าง x ยาว x หนา) 83 x 194 x 12 เซนติเมตร
- วัสดุเนื้อโฟมออกแบบพิเศษเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส เพื่อช่วยในการกระจายแรงกดทับต่อน้ำหนักตัวของผู้ป่วยที่ทับลงมาบนที่นอน
- ออกแบบให้มีช่องระบายอากาศ ทำให้สามารถระบายความชื้นและความร้อนสะสมที่เกิดจากการนอนนานๆของผู้ป่วย ทำให้ลดความร้อนอบอ้าว ลดการอับชื้นของที่นอน
- วัสดุที่นำมาผลิตเป็นชั้นคลุมด้านนอก สามารถป้องกันการซึมเปื้อนของละอองหยดน้ำได้ดี แต่ไม่แนะนำให้เอาลงแช่น้ำ เพราะน้ำสามารถแพร่ซึมเข้าเนื้อที่นอนได้ถ้าหากแช่น้ำนานๆ
- วัสดุที่นำมาผลิตเป็นชั้นคลุมด้านนอก เป็นวัสดุเกรดพรีเมี่ยม เน้นสมบัติเป็นวัสดุที่ไม่อมความร้อน ระบายความร้อนได้ดี ทำให้นอนนานๆแล้วไม่ร้อนอบอ้าว ลดความชื้นสะสม ป้องกันการเกิดเชื้อราจากความชื้นสะสม
- ฟูกที่นอนมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเอนไปตามการปรับระดับเตียงผู้ป่วย ออกแบบพิเศษมาใช้เฉพาะสำหรับเตียงผู้ป่วยที่ปรับระดับได้
- วัสดุโฟมด้านใน เป็นเนื้อโฟมที่มีความหนาแน่น รองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม
แผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
- ปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงที่เกิดมากที่สุดและสร้างปัญหามากเป็นอันดับต้นๆ คือ ปัญหาแผลกดทับแผลกดทับเกิดจากการที่ผิวหนังถูกกดทับมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องจนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณผิวหนังตำแหน่งที่ถูกกดทับ จะส่งผลให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะเป็น รอยแดง รอยคล้ำ เกิดเนื้อตาย เกิดแผลบริเวณผิวหนัง มีความอับชื้น เกิดเป็นแผลเรื้อรัง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่จะมีอาการของแผลที่ลุกลามได้ง่าย หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความอ้วนมากๆ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แผลกดทับเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ถ้าเป็นแล้วหากไม่รีบรักษานอกจากรุนแรงจนต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล อาจเกิดการติดเชื้อจากแผลกดทับอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ
- แผลกดทับมักพบได้บ่อยในบริเวณตำแหน่งผิวหนังที่รับน้ำหนักตัว หรือบริเวณผิวหนังที่อยู่ติดกับกระดูก ปัญหาแผลกดทับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมได้น้อย ผู้ป่วยนอนติดเตียง ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ ได้แก่ บริเวณด้านหลังศรีษะและบริเวณหู บริเวณไหล่ บริเวณข้อพับแขน บริเวณก้น บริเวณสะโพก บริเวณเข่า บริเวณข้อเท้า
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดแผลกดทับ
- ผู้ป่วยขาดการเคลื่อนไหวเช่น นอนติดเตียงตลอดเวลาหรือ ไม่สามารถขยับได้ ทำให้ร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานาน เลือดไหลเวียนได้ไม่เพียงพอ
- ผู้สูงอายุจะมีผิวแห้งเพราะขาดความชุ่มชื้นตามวัย เนื่องจากผู้สูงอายุผิวหนังจะบอบบางลง สูญเสียความยืดหยุ่นและการไหลเวียนของเลือดลดลงตามวัย
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี ปัญหาโภชนาการไม่เพียงพอ อาจเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เช่นสุขภาพปากและฟัน มีปัญหาเรื่องการกลืน ปัญหาด้านสุขภาพจิต
- ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จะทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ ผิวหนังถูกเสียดสีจากเนื้อผ้าหรือมีการอับชื้น
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
การแบ่งระดับแผลกดทับ
- ระดับที่ 1 ผิวหนังจะยังไม่เกิดการฉีกขาด จะเกิดเพียงแค่รอยแดงเฉพาะที่
- ระดับที่ 2 บริเวณแผลกดทับผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนังบางส่วนจน มองเห็นชั้นผิวหนังแท้ และอาจจะพบลักษณะของตุ่มน้ำใส หรือตุ่ม น้ำใสที่แตกได้
- ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดจนมองเห็นชั้นไขมัน บริเวณที่มีไขมันมากมักจะเกิดแผลลึก และอาจพบโพรงใต้ ขอบแผล หรือโพรงแผล
- ระดับที่ 4 เกิดแผลลึกจนมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะสูญเสียชั้นผิวหนัง และชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด จะมองเห็นหรือสัมผัสเนื้อเยื่อพังผืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกหรือกระดูกอ่อนในบริเวณพื้นแผลได้
วิธีการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
- การจัดท่าทาง การปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิด แผลกดทับได้ดี หมั่นพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง ออกกำลัง ขยับแขน, ขา และข้อต่อต่างๆ ให้ผู้ป่วยเป็นประจำ
- ดูแลความสะอาดผิวหนังไม่ให้อับชื้นหรือแห้งเกินไป ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจผิวหนังอยู่เสมอว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
- ดูแลที่นอนให้สะอาด แห้ง อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น
- การดูแลเรื่องโภชนาการเป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ป่วยจะต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อย่างครบถ้วนถูกต้องตามหลักโภชนาการ สารอาหารเหล่านี้จะไปช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัวของผิวหนังที่ถูกทำลายได้เป็นอย่างดี ช่วยให้หายเร็วขึ้น
- ใช้อุปกรณ์ช่วยลดแรงกดทับ เช่น ที่นอนลม หรือ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ
ควรเลือกที่นอนแบบไหนดี
- ปัจจัยหลักๆในการเลือกที่นอนป้องกันแผลกดทับนอกจากคุณสมบัติในการลดการเกิดแผลกดทับแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความสบาย อายุการใช้งาน ความทนทาน การรับประกันจากผู้ขาย งานบริการหลังการขาย และความเหมาะสมในการใช้งานของผู้ป่วย
ประเภทของที่นอนป้องกันแผลกดทับ
- ที่นอนลม ที่นอนลมคืออุปกรณ์ที่ช่วยกระจายแรงกดทับทำงานโดยเครื่องปั๊มลมไฟฟ้า ตัวที่นอนจะมีการสลับยุบพองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผิวหนังบริเวณนั้นไม่ถูกกดทับเป็นเวลานานเป็นการลดความรุนแรงในการเกิดแผลกดทับลงที่นอนลมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
- ที่นอนลมแบบลอน ที่นอนลมแบบลอนจะมีข้อดีคือในกรณีที่โดนของมีคม ทำให้ลอนรั่วแตกเสียหาย หรือมีลอนใดลอนหนึ่งชำรุด จะสามารถถอดเปลี่ยนลอนได้ ไม่ต้องซื้อที่นอนใหม่เปลี่ยนทั้งผืน เปลี่ยนเฉพาะลอนที่เสียหาย ค่าใช้จ่ายจะประหยัดกว่า ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนลอน โดยประมาณลอนละ 200-250 บาท การเลือกที่นอนลมควรเลือกที่นอนลมที่มีความทนทาน วัสดุระบายความร้อนได้ดี นอนแล้วไม่อบอ้าว และที่สำคัญที่สุดควรเลือกที่นอนลมรุ่นที่เครื่องปั้มลมทำงานเสียงเบาจะได้ไม่รบกวนเวลานอนหลับ มีการรับประกันจากผู้ขาย มีบริการหลังการขาย
- ที่นอนลมแบบรังผึ้ง ใช้ในการสลับความดันลมสลับยุบพองในแต่ละจุดมีการสลับพองยุบอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับแบบลอน และสามารถปรับระดับความนิ่มของที่นอนได้เหมือนกันกับแบบลอน ที่นอนลมแบบรังผึ้งทำความสะอาดง่าย หากผู้ป่วยจะต้องทายาเพื่อรักษาแผลกดทับ หรือผู้ป่วยที่ระบบการขับถ่ายมีปัญหาที่นอนลมแบบรังผึ้งก็เหมาะเพราะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าที่นอนลมแบบลอน แต่มีข้อเสียที่ต้องระวังคือถ้าหากโดนของมีคมทำให้ที่นอนแตกหรือรั่วจะต้องทำการปะรอยรั่ว ซึ่งในกล่องอุปกรณ์มักจะแถมอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมที่นอนลมไว้ในชุดด้วย แต่ในปัจจุบันมีที่นอนลมแบบรังผึ้งรุ่นใหม่ๆ ที่ออกแบบเลือกใช้วัสดุที่ทนทานต่อของมีคม ทำให้รั่วแตกยาก ดังนั้นก็ควรเลือกที่นอนลมรุ่นที่วัสดุทนทาน และมอเตอร์ปั้มลมทำงานเสียงเบา มีการรับประกันจากผู้ขาย มีบริการหลังการขาย
- ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแผลกดทับได้เช่นเดียวกับที่นอนลม ประสิทธิภาพในการป้องกันแผลกดทับเทียบเท่ากับที่นอนลม แต่ข้อดีที่มากกว่าคือช่วยให้นอนสบายตัวกว่า ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายเวลานอนหลับ ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับจะไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ไม่มีเสียงดังจากเครื่องปั๊มลมรบกวนในเวลานอนหลับ
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์เลขที่ ฆพ.103/2564
คลิ๊ก!! เพื่อสอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม
** สอบถามข้อมูลสินค้า
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
Line ID : @cumedicalhome
โทร. 086-368-5766
โทร. 062-046-5757
**ส่งสินค้าให้ท่านอย่างมั่นใจ รวดเร็วทันใจ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ!!